เฟด แนวโน้มการออกคิวอี3 (QE3) กับค่าเงินบาท การส่งออกไทย

เฟด แนวโน้มการประกาศลดมาตรการคิวอี (QE) กับค่าเงินบาท

ที่ผ่านมา เฟด (Federal Open Market Committee) หรือคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ   ได้ดำเนินการมาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน (QE)  ด้วยการเข้าไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial assets) ด้วยการสร้างเงินใหม่ๆ เพื่อที่จะอัดฉีดปริมาณเงินที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเข้าสู่ระบบการเงินของประเทศ ซึ่งจะเป็นการไปเพิ่มทุนสำรองส่วนเกิน (excess reserves ) ของระบบธนาคารและจะเข้าไปยกระดับราคาสินทรัพย์ทางการเงินที่ซื้อมาซึ่งมีผลตอบแทนต่ำ   ซึ่งในรอบปีนี้เฟดได้ใช้มาตรการ QE1 และ QE2  ไปแล้ว

นักเศรษฐศาสตร์ ออกมาเตือนภาครัฐและภาคธุรกิจ  เตรียมแผนรับมือวิกฤติยุโรป  หลังจากที่สหรัฐใช้มาตรการQE1 และ QE2 ไปแล้วแต่ยังไม่ได้ผลมาก หวั่นว่าจะออกมาตรการ QE3  อย่างแน่นอน  คาดส่งผลเงินไหลเข้าเอเชียกระทบค่าเงินบาท เงินทุนไหลออกอีกระลอก  ผู้ส่งออกยังต้องระมัดระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพียงแต่โดยภาพรวมแล้ว  นักลงทุนยังมองพื้นฐานเศรษฐกิจไทยในมุมที่ดี  และไทยเราก็อยู่ในภลุ่มภูมิภาคที่ยังมีการเติบโตอยู่  ดังนั้นทิศทางเงินบาทจากนี้คงผันผวน  แต่เชื่อว่าระยะสั้นยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ  32-33  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ในขณะที่นักวิเคราะห์มองว่ามีความเป็นไปได้ที่ระยะยาวค่าเงินบาทอาจกลับไปเคลื่อนไหวที่ระดับ 35 – 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นระดับเดียวกับช่วงก่อนที่เฟดจะเริ่มใช้มาตรฐการคิวอี โดยภายหลังจากที่เฟดเริ่มมาตรการดังกล่าว ก็จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง  จนระดับการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจนมีระดับการแข็งค่าต่ำสุดที่ 28-29  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  แต่อย่างไรก็ตามในระยะสั้นคาดว่าเงินบาทจะผันผวนอยู่ในระดับ 32-33  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

QE3

วิกฤติเศรษฐกิจหนี้ยุโรปธุรกิจเสี่ยงล้มกิจการ

            ถึงแม้พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังคงมีความแข็งแกร่งแต่จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาค่อนข้างชะลอตัว  ในขณะที่เศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวได้อย่างล่าช้าและการลงทุนยังไม่เกิดมากนัก  ในกรณีที่เกิดสถานการณ์ตื่นตระหนกขึ้น  นักลงทุนส่วนใหญ่จะเทขาย  ทรัพย์สินออกมาก่อน  แล้วค่อยมองปัจจัยและเมื่อสถานการณ์นิ่งนักลงทุนคงกลับมามองที่พื้นฐานและอาจจะกลับมาลงทุนใหม่อีก  สถานการณ์เศรษฐกิจยุโรปอาจใช้เวลานานกว่าจะจบ  และจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย  โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ  สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม  แนะผู้ส่งออกลดรายจ่าย   หาตลาดใหม่  และหาสินค้าใหม่ตรงตามความต้องการตลาด พร้อมเน้นความเชื่อมั่น เช่น ส่งสินค้าได้ตามเวลา  อุปสรรคของผู้ส่งออกในขณะนี้คือผู้ซื้อปลายทางมีการขยายเวลาชำระสินค้า (เก็บเงินได้ล่าช้า)  ทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่อง  ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขคาดว่าอาจมีการล้มกิจการ

โค้งสุดเท้ายของปี 2556  ยุคโลกาภิวัตน์ หรือที่เรียกอีกว่าอย่างว่า “โลกไร้พรมแดน”  จากสถานการณ์ในต่างประเทศ ทั้งกรณีที่เฟดหรือธนาคารกลางสหรัฐ  ประกาศว่า เฟดอาจต้องมีการลดมาตรการคิวอี (QE)  รวมถึงสถานการณ์ร้อนอย่างข่าวรัฐบาลซีเรียอยู่เบื้องหลังการใช้อาวุธเคมีเข่นฆ่าประชาชน  ต้องยอมรับว่าเราต้องเกาะติดสถานการณ์ เพราะล้วนส่งผลกระทบต่อตลาดทุน  ตลาดเงิน  การส่งออก   จำเป็นที่เราต้องเกาะติดสถานการณ์ เพื่อที่จะสามารถปรับตัวทัน  เพราะมันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง  

มาตรการคิวอี (QE) คืออะไร

ปัญหาค่าเงินบาท

ค่าเงินบาท มาตรการ 7 7 8

 

Leave A Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.