ปัญหาค่าเงินบาท Weak & strong agaist (another currency)

ปัญหาค่าเงินบาท Weak & strong agaist (another currency) 

หลังจากที่ค่าเงินบาทแข็งค่าจนหลายคนหวาดหวั่น แต่แล้วช่วงนี้หลายคนคงได้ยินเรื่องค่าเงินบาทมีการผันผวนเร็วเกินไปแกว่งขึ้นๆ ลงๆ  จนผู้ประกอบการไม่สามารถตั้งราคาค่าสินค้าได้   เกิดอะไรขึ้น  อย่างไรก็ตามค่าเงินแข็งหรืออ่อน  มันเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจที่มีประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ  เช่น ก่อนหน้านี้ข่าวสหรัฐอเมริกาปั้มดอลลาร์  จนเกิดการไหลบ่าของเงินลงทุน  ล่าสุดประเทศที่มีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยนั่นคือญี่ปุ่นปั้มเงินเยนบ้าง  ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ)  เตรียมยาแก้ไว้  เพื่อป้องกันการที่นักลงทุนอาศัยทำกำไรจากค่าเงิน

ตามข่าว ธนาคารแห่งประเทศไทย เตรียมออกมาตรการการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือภาษีเงินไหลเข้าไหลออกแบบขั้นบันได คือถือครองสั้นเก็บค่าธรรมเนียมเยอะถือครองยาวอาจไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม  ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนลงอย่างเห็นได้ชัด แต่จะเป็นอย่างนี้ยั่งยืนหรือเปล่าแนวโน้มในระยะต่อไปน่าจะแข็งขึ้นอีก และมีการคาดว่าจะคงตัวอยู่ที่  28-29  บาท

กุญแจดอกสำคัญอยู่ที่ญี่ปุ่นเงินเยนปั้มเงินออกมาเพื่อไล่ซื้อเงินดอลลาร์อย่างมหาศาล   ญี่ปุ่นจะพิมพ์แบงค์ออกมาในตลาดเพื่อให้เงินเยนอ่อนค่าลง เพื่อส่งเสริมการส่งออกและส่งเสริมการลงทุน ซึ่งก็คือ ญี่ปุ่นออกมาตรการ QE หรือ Quantitative Easing   โดยตั้งเป้าฐานเงิน (เงินสดหรือเงินในรูปบัญชีที่หมุนเวียน) อยู่ที่ 250 ล้านเยน หรือครึ่งหนึ่งของ GDP (Gross Domestic Product)  ของประเทศ และจะต้องรีบนำเงินสดไปเกาะตามที่ต่างๆ ของโลกเพื่อรีบยึดพื้นที่ทางเศรษฐกิจไว้ก่อน  โดยเฉพาะเอเชีย

จากสถิติญี่ปุ่นเลือกลงทุนในประเทศไทยเป็นอันดับ 1  คาดการณ์ว่าเงินญี่ปุ่นจะไหลเข้ามาลงทุนในภาคธุรกิจ  นอกจากนั้นยังซื้อตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล   ญี่ปุ่นต้องการใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่อุปทาน  เชื่อมเราไปสู่ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง  วิเคราะห์ทำไมญี่ปุ่นทำเช่นนั้นก็เพราะว่า ขณะนี้ประเทศที่ญี่ปุ่นกลัวคือจีน  เพราะจีนมีสถานะเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจกับญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จีนจะตั้งหลักได้มากกว่านี้ญี่ปุ่นจึงขยับตัวลงทุนซื้อกิจการต่างๆ     ทั่วเอเชียเพื่อยึดพื้นที่ไว้ก่อน

 

กรณีค่าเงินบาทแข็งมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างไร  เหรียญมีอยู่สองด้าน  จุดสมดุลอยู่ตรงไหน

ค่าเงินบาท   หมายถึง  จำนวนเงินบาทที่นำไปแลกเปลี่ยนกับเงินตราต่างประเทศหรือที่เรียกกันว่าเงินสกุลอื่น  เช่น สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ  เงินเยนญี่ปุ่น  เงินปอนด์เสตอร์ลิงของอังกฤษ  เป็นต้น เช่นนำเงิน 31 บาท ไปแลกเงินญี่ปุ่นได้ 100 เยน นำเงิน 29  บาทไปแลกเงินดอลลาร์ได้  1  ดอลลาร์  โดยขึ้นอยู่กับ อัตราแลกเปลี่ยน

ผู้ส่งออก   เสียประโยชน์  ใช้เงินซื้อมากขึ้นในขณะที่เราได้ของเท่าเดิม ได้เงินบาทน้อยแม้จะได้ดอลลาร์เท่าเดิม (ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน)  แต่ถ้าเป็นผู้ส่งออกที่นำเข้าสินค้ามาเพื่อผลิตแล้วส่งออกมากกว่าที่นำเข้า ก็ถือว่าได้ประโยชน์ ก็เหมือนธุรกิจทั่วไป   (ซื้อ < กว่าขาย = กำไรขั้นต้น)

ผู้นำเข้า    ได้ประโยชน์  ประหยัดเงินไทยที่ต้องนำไปแลกเปลี่ยน     ขายของได้เยอะขึ้นเพราะต่างประเทศใช้เงินซื้อน้อยลงจึงมีกำลังซื้อเยอะขึ้น ซื้อของเรามากขึ้น  เช่น ซื้อเครื่องจักรได้ถูกลง

ผู้ที่กู้เงินจากต่างประเทศ    ที่กู้ไว้ก่อนหน้าก็จะมียอดหนี้เงินกู้สกุลต่างประเทศเมื่อแปลงเป็นเงินบาท  ได้ประโยชน์

ความเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์   ไทยจะสู้กับวิกฤตินี้ได้อย่างไร  เนื่องจากต้นทุนค่าแรงของเราแพงกว่าประเทศคู่แข่งขัน  เราต้องยกระดับฝีมือแรงงาน สร้างขีดความสามารถให้เก่งขึ้นลอยตัวเหนือคู่แข่ง  ต้องขายที่คุณภาพ   ควรมีการลงทุนต่างประเทศ  พัฒนาขึ้นชั้นทางเศรษฐกิจ   สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน   ไม่ส่งออกโดยมุ่งขายของถูกแต่ต้องขายคุณภาพ    ควรส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ  การนำเข้าเครื่องจักร (เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งแลกดอลลาร์ได้มากขึ้น)  เป็นการจราจรสองทาง

ถ้าจะมองว่าค่าเงินบาทแข็งหรืออ่อน เป็นเรื่องดีหรือไม่ดี  มันก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนเหมือนเหรียญที่มีอยู่สองด้านไม่มีใครตอบได้ว่าค่าเงินบาทที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจไทยควรจะอยู่ที่ระดับใดที่ถือว่าเสถียรภาพ  แต่ที่เดือดร้อนอยู่ตอนนี้คือค่าเงินผันผวนเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ อย่างรวดเร็วนั่นเอง  เพราะการเปลี่ยนแปลงเร็ว ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบการในการตั้งราคาสินค้า  และส่งผลต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย แม้กระทั่งกระทบต่อการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

 

อัตราแลกเปลี่ยนโปรดดูที่นี่

 

Leave A Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.