เรื่องทั่วไป (In General) Archive

Latest Posts

เถียงนา

เมื่อเอ่ยถึงเถียงนา  เกิดคำถามตาม  อะไรคือเถียงนา  “เถียงนา” มีความหมายเหมือนกับ ”โรงนา”  ของภาคอื่นๆ  แต่สำหรับชาวอีสานในชนบทเกือบทั้งหมดประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวน แต่ละครอบครัวจะสร้างที่พักอาศัยชั่วคราว ในการทำนา ตั้งแต่ เริ่มไถ,หว่าน จนกระทั้งเก็บเกี่ยวผลิตผล  ซึ่งเรียกสิ่งปลูกสร้างนี้ว่า “เถียงนา” ในระยะนี้ชาวนาอีสานมักจะยกครอบครัว อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ไม้สอยออกไปอาศัยอยู่ในเถียงนาเกือบตลอดเวลา  จึงทำให้เถียงนาในฤดูนี้มีชีวิตชีวา  จนดูเสมือนจะเป็นบ้านที่สองของชาวอีสานเลยทีเดียว  แต่เมื่อพ้นฤดูทำนาแล้วเถียงนาก็จะเต็มไปด้วยความเงียบเหงา  แห้งแล้ง  เหลือทำหน้าที่เพียงเป็นที่พักผ่อนในบางโอกาสของคนเดินทาง  และคนที่ออกไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเท่านั้น ทำไปต้องเป็น “เถียงนา”  เนื่องจากเถียงนาเป็นเพียงที่พักอาศัยชั่วคราวดังกล่าวแล้ว  โดยทั่วๆไปจึงมักจะไม่ค่อยมีพิธีรีตรองมากนักในเรื่องความเชื่อแต่เท่าที่มีอยู่ก็เฉพาะคนเฒ่าคนแก่ที่สูงอายุเป็นส่วนใหญ่โดยจะทำพิธีบนเพื่อบอกกล่าวเจ้าที่  เจ้าทาง  ขออนุญาตปลูกสร้างเถียงนาก่อนและในบางแห่งจะสมมติเหตุการณ์ขึ้นเป็นการถือเคล็ดก่อนปลูกสร้างเถียงนาคือสมมติให้คน  2 คน  ออกไปในนาตรงที่จะปลูกสร้าง  แล้วให้ถกเถียงกันอย่างรุนแรง  ทำเสียงให้ดังมากๆ  หรืออาจถึงขั้นต่อสู้ชกต่อยกันเลยก็ได้  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเป็นเรื่องร้ายแรงมารบกวน  ไปถึงผีป่าหรือวิญญาณที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นได้เกิดความรำคาญ
manee1

หนังสือเรียนภาษาไทยในรอยจำ มานะ มานี ปิติ ชูใจ

ย้อนกลับไปเมื่อตอนเริ่มเรียนหนังสือตอน ป.1  ไม่ทราบว่าท่านใดทันได้เรียนหนังสือเรียนภาษาไทย มานะ มานี ปิติ ชูใจ  หลักสูตรนี้ใช้ระหว่างปี 2521 – 2537   เป็นหนังสือที่อยู่ในความทรงจำ  เรื่องราวของตัวละคร และการดำเนินเรื่องสนุกสนาน นอกจากอ่านแล้วเพลิดเพลินแล้ว   เรื่องราวบทบาทของตัวละคร บุคลิกลักษณะนิสัย  ครอบครัวและเหตุการณ์ต่างๆ  ได้สอดแทรกคุณธรรม  และมีการเพิ่มประสบการณ์ทางภาษา   ซึ่งในแต่ละบทเรียนมีภาพประกอบ ส่วนท้ายบทเรียนแต่ละบท มีแบบฝึกฝนความรู้  โดยมีการลำดับการเรียนรู้สื่อความหมายให้เข้าใจได้ง่าย  แบ่งเป็น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1-2  มี  40 บท มีการผูกเรื่องราวผ่านตัวละคร 5 คน คือ มานะ ปิติ วีระ มานี ชูใจ 

ปฏิทินกิจกรรมในการทำนา (นาปี-ภาคอีสาน)

การทำนา : ปฏิทินกิจกรรมในการทำนา (นาปี-ภาคอีสาน) มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา เหมือนการลากเส้นเริ่มต้นจากจุดๆ หนึ่งไปยังจุดอีกจุดหนึ่งไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาก็กลับไปยังจุดเริ่มต้นอีกครั้ง สุดท้ายก็กลับมาแนวคิดเดิมเราเริ่มจากจุดไหน อย่างเช่นจุดเริ่มต้นรากเหง้าเราเป็นชาวนา สุดท้ายแนวความคิดก็จะกลับมาจุดเริ่มต้นนั้นอีกครั้ง และอีกครั้ง แต่รากเหง้าเราสมัยก่อนใช้ควายเป็นเครื่องมือในการช่วยทำนา (อิอิ แอบบอกอายุ) แต่เกษตรรุ่นใหม่อย่างเรา (ไม่เกี่ยวกับอายุนะ) ถือว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานที่เป็นหลักวิชาการแล้ว วิถีการทำนาก็จะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำนาให้เหมาะสมกับเงื่อนไขทางสังคมและสถานภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป คำถามคือจะเริ่มยังไงล่ะ สมัยก่อน รุ่นพ่อแม่เราเรียนรู้จากการลงมือทำ แต่สำหรับเราเรียนและทำงานออฟฟิศมาตลอด จะทำเป็นไหม หาทางลัดก็ลงมือศึกษาสิคะ จากผู้มีประสบการณ์ อบรมฟรีด้วย แนะนำเลยค่ะ ที่นี่เลย สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรงข้ามโรงพยาบาลนวนคร รังสิต เกริ่นมาตั้งนานเข้าเรื่องเลยดีกว่า ก่อนเราจะเริ่มกิจกรรมหรือวางแผนอะไรเราต้องจัดปฏิทินกิจกรรมการทำงานก่อนใช่ไหมคะ มาดูปฏิทินกิจกรรมในการทำนา ยกตัวอย่าง นาปี ภาคอีสานมานะคะ เดือน กิจกรรม มกราคม

การทำนาอินทรีย์

มีโอกาสได้เข้ากลุ่มผู้สนใจการทำนา  มี่พี่ใจดีให้คู่มือการทำนาอินทรีย์ เลยขออนุญาตนำมาเผยแพร่ให้สนใจดาวน์โหลดไว้เป็นคู่มือ  “อยากให้ประเทศไทยปลอดสารเคมี” ทำนาแบบดั้งเดิมค่ะ   ดาวน์โหลดคู่มือทำนาอินทรีย์ที่นี่   เครดิต ขอบคุณ มูลนิธิขวัญข้าว (KKF)      

ดีเดย์การขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ทั่วประเทศ ผลกระทบ และวิธีรับมือ

ดีเดย์การขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ทั่วประเทศ  ผลกระทบ และวิธีรับมือ รัฐบาลประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ  300 บาท/วัน  มีผล 1 มกราคม 2556  เป็นต้นไป  พร้อมกันทั่วประเทศ ใน 70 จังหวัด ตรึงอัตรานี้ถึงปี 2558   หลังจากก่อนหน้านี้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำร่อง  ซึ่งมีผลไปแล้วตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 ที่ผ่านมา  พร้อมทั้งออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า  เอสเอ็มอี ทั้งหมด 6 มาตรการใหญ่ และ 27 มาตรการย่อย  เช่น มาตรการทางการเงิน