ดีเดย์การขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ทั่วประเทศ ผลกระทบ และวิธีรับมือ

ดีเดย์การขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ทั่วประเทศ  ผลกระทบ และวิธีรับมือ

รัฐบาลประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ  300 บาท/วัน  มีผล 1 มกราคม 2556  เป็นต้นไป  พร้อมกันทั่วประเทศ ใน 70 จังหวัด ตรึงอัตรานี้ถึงปี 2558   หลังจากก่อนหน้านี้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำร่อง  ซึ่งมีผลไปแล้วตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 ที่ผ่านมา  พร้อมทั้งออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า  เอสเอ็มอี ทั้งหมด 6 มาตรการใหญ่ และ 27 มาตรการย่อย  เช่น มาตรการทางการเงิน เพื่อเสริมสภาพคล่อง  มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของ เอสเอ็มอี  มาตรการเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการผ่านการใช้จ่ายภาครัฐ เป็นต้น

แรงงานไืทย

ค่าแรงขั้นต่ำเดิมวันละ  215  บาท  ปรับเพิ่มมาอีก 85  บาท ต่อวัน  (ประมาณ 2,210 บาท /เดือน/คน)  สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี หรือธุรกิจขนาดกลาง และ ขนาดเล็กได้รับผลกระทบต่อกิจการด้านค่าใช้จ่ายแรงงานที่เพิ่มขึ้นถึง 39.5%  บางแห่งถึงกับปิดโรงงานซึ่งเกิดขึ้นแล้ว จากข่าว บริษัท วิณาการ์เมนต์ จำกัด  ผู้ผลิตเสื้อชั้นในของนายจ้างชาวญี่ปุ่นสั่งปิดโรงงานโดยไม่แจ้งล่วงหน้า จนกลุ่มพนักงานฝ่ายผลิตออกมาประท้วงหน้าโรงงาน 290 คน

              ผลกระทบด้านบวก

  1. ผู้ใช้แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
  2. ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการจ้างแรงงานมากขึ้น คือคัดเลือกแรงงานที่มีความรู้และประสบการณ์เพื่อให้คุ้มกับต้นทุนค่าใช้จ่ายแรงงานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น

              ผลกระทบด้านลบ

ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการอาจสูงขึ้น  เนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการเพิ่ม

จะว่าไปแล้วการขึ้นค่าแรงไม่ว่าจะครั้งไหนๆ ผลที่ตามมาก็คือ ธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานเป็นหลักเช่น ธุรกิจสิ่งทอ  เซรามิค ฯลฯ  ล้วนแต่ได้รับผลกระทบโดยตรง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาทางรอดซึ่งอาจจะวางแผนมาเป็นปี เช่น  ตัดรายการสวัสดิการ เช่น ค่าข้าว ค่ารถ แล้วจ่ายเฉพาะค่าแรง หรืออาจจะจ้างเป็นรายชิ้น เป็นต้น ผลที่ตามมาคือ แรงงานลำบาก เพราะต้องมีรายจ่ายประจำวันมากขึ้น จากเดิม ถ้ารวมสวัสดิการ โอที ได้รับค่าจ้างประมาณ 13,000 – 15,000  บาท เมื่อนายจ้างจ่ายเฉพาะค่าแรง ได้รับค่าจ้างประมาณเดือนละ 8,000 – 10,000 บาท (รวมโอที)  ข้าว 1 มื้อ /ราคาจานละ 35-40 บาท ไหนจะค่าเดินทาง  ค่าเช่าห้อง ฯลฯ  หลายคนบอกว่าขอค่าแรงเท่าเดิมแล้วได้รับสวัสดิการเหมือนเดิมจะดีกว่า  เพราะพอประกาศให้ขึ้นค่าแรง ไม่ว่าจะขึ้นมากเท่าไหร่ ราคาสินค้าก็สูงขึ้นเท่านั้นเหมือนเป็นเงา (หรืออาจเป็นแรงเงา) ต้นทุนสินค้าหลักๆ คือค่าแรง  ปัญหามันวนกลับมาที่ชาวบ้านอย่างเรานี่แหละ  ปีนี้ก็เตรียมรับผลกระทบจากหลายๆ ด้านไว้นะคะ เราอยู่ปลายทางคือผู้บริโภค  อย่าใช้จ่ายให้มากเกินตัว เงินจะไม่พอใช้ ต้องตั้งหลักใหม่เริ่มต้นที่ตัวเรา  สำรวจตัวเองเราสามารถลดรายจ่ายส่วนไหนได้บ้าง เช่น บางคนติดกาแฟสด (แก้วละ 40 บาท x 30 วัน = 1,200 บาท)  น้ำอัดลม (กระป๋องละ 15 บาทx 30 วัน = 450 บาท ) เป็นต้น นำเงินที่เราตัดใจจากความเคยชิน เช่น วันนี้ฉันต้องกินกาแฟสด  วันนี้ฉันต้องกินน้ำอัดลม  อยากไปหยอดกระปุกแทน ลดรายจ่ายเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ เราจะพบว่า รายจ่ายที่เกิดจากความเคยชินในชีิวิตประจำวันกลับกลายเป็นเงินออมไปโดยปริยาย แถมด้วยสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย  นับจากวันนี้เรามาลองนับหนึ่งไปด้วยกันเพราะสุดท้ายเราก็เรียกร้องจากใครไม่ได้  “ใช้จ่ายเงิน ตามความสามารถที่หากำลังทรัพย์ได้ และต้องรู้จักออม ไม่ใช่ใช้จ่ายเกินตัว” 

 

 

Leave A Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.