ค่าครองชีพเริ่มปรับราคา “ก๊าซหุงต้ม – ทางด่วน – ไฟฟ้า “ 1 กันยายน 2556

ปรับราคา “ก๊าซหุงต้ม – ทางด่วน – ไฟฟ้า “

รัฐบาลประกาศขึ้นราคาทั้ง ก๊าซ LPG ,ค่าทางด่วน,ไฟฟ้า ในวันเดียวกัน คือ 1 กันยายน 2556  ได้ยินแต่เสียงพ่อค้าแม่ค้าโวยวายกับต้นทุนที่สูงขึ้น   ซึ่งกำลังจะเป็นเหตุผลขึ้นราคาอาหาร    มนุษย์เงินเดือน  รับจ้างกินค่าแรงงาน  ได้รับผลกระทบโดยตรงกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ไม่รู้จะไปโวยวายกับใครได้แต่ก้มหน้ารับไป  แหงนหน้าดูข่าวม้อบก็ออกมาประท้วงเนื่องจากสินค้าเกษตรตกต่ำ ,ข่าวการทุจริตของรัฐบาลในการจัดซื้อจัดจ้าง,ข่าวหุ้นไทยร่วงกว่า 1,300 จุด  วันนี้นักลงทุนย้ายฐานการผลิตไปประเทศลาว  เวียดนาม พม่า จากพิษค่าแรง 300 บาท  อีกสาเหตุหนึ่งก็เพราะนักลงทุนไม่เชื่อมั่นในรัฐบาล   สิ่งที่อยากเห็นตอนนี้คือการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน  เวลาในการประชุมเสียไปกับการยกมือคัดค้าน  การรอคอยฟังการแก้ปัญหา  การทำงานของรัฐบาล   ในฐานะประชาชนผู้ชมการถ่ายทอดสดแล้วช่างเป็นการรอคอยที่แสนเหนื่อย   คงไม่มีอะไรในยามนี้เป็นที่พึ่งได้นอกจากคำพระท่านว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”  สิ่งที่ดีที่สุดคือปรับตัวกันไปตามอัตถภาพ แล้วอย่างนี้ AEC จะไหวไหม

3  รายการที่มีการประกาศขึ้นราคาในวันที่ 1 กันยายน 2556  ก็คือ

  1. ราคาก๊าซหุงต้ม  LPG  ขึ้นราคา 50 สตางค์ต่อกิโล  (ก๊าซหุงต้ม 1  ถังใช้ประกอบอาหารได้ประมาณ  300  จาน การปรับขึ้นก๊าซเดือนละ 50 สตางค์/กิโลกรัม  หรือ  7.50  บาท/ถัง ( ถัง 15 กิโลกรัม)  ค่าเฉลี่ยการใช้  3  เดือน / ถัง

LPG

2.  ค่าไฟฟ้า ขึ้นค่า Ft  เป็น 7.08 สตางค์ต่อหน่วย  ทำให้ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นประมาณ  7 บาท  ต่อผู้ใช้ไฟฟ้า  100  หน่วย  โดยเฉลี่ยจะใช้ไฟฟ้าครัวเรือนละ

250  หน่วย/เดือน  รวมภาระที่เพิ่มขึ้นประมาณ  18  บาท / เดือน   แต่ถ้าใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50  หน่วย/เดือน  รัฐบาลให้ใช้ไฟฟ้าฟรี

Electricity

3. ค่าทางด่วน  ขึ้น 5 บาท  จาก 45 เป็น 50 บาท (รถยนต์ 4 ล้อ), รถ 6-10 ล้อ  จากเดิม 70 บาท  เป็น 75  บาท ,รถเกินกว่า  10  ล้อ  จากเดิม  100  บาท                      ปรับเป็น  110  บาท  คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น 5 บาท/เที่ยว  หรือวันละ  10  บาท (ไป-กลับ)

car over10

เราในฐานะประชาชนผู้เสียภาษี บางคนอาจเถียงว่าเราเงินเดือนไม่ถึงไม่เคยเสียภาษีเลย ขอบอกตรงนี้เลยว่าท่านเสียภาษีค่ะ  ทุกครั้งที่เราจับจ่ายซื้อของแล้วได้รับใบเสร็จรับเงินในใบเสร็จจะมีปรากฏราคาของก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีมูลค่าเพิ่ม7%  ตรงที่เราเห็น 7% นี่แหละที่เราในฐานะผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระเสียภาษีให้กับรัฐ   ยิ่งสินค้าแพงขึ้นแค่ไหนเราก็จ่ายเยอะขึ้น  ประชาชนอย่างเรายินดีที่สุดที่ได้เป็นหนึ่งในผู้เสียภาษี  และอยากเห็นเม็ดเงินนั้นถูกใช้ไปอย่างมีคุณค่า จับตาดูต่อไปนะคะการขึ้นค่าครองชีพรายการสำคัญในภาคครัวเรือนครั้งนี้ประชาชนคนทำงานอย่างเราได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน  เราจ่ายเยอะขึ้นแน่นอน ค่อยๆ เริ่มปรับตัว  ตอนนี้ทำได้แค่”ประหยัด” ต้องเริ่มทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายกันล่ะคราวนี้

 

 

Leave A Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.