ปฏิทินกิจกรรมในการทำนา (นาปี-ภาคอีสาน)

การทำนา : ปฏิทินกิจกรรมในการทำนา (นาปี-ภาคอีสาน)
มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา เหมือนการลากเส้นเริ่มต้นจากจุดๆ หนึ่งไปยังจุดอีกจุดหนึ่งไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาก็กลับไปยังจุดเริ่มต้นอีกครั้ง สุดท้ายก็กลับมาแนวคิดเดิมเราเริ่มจากจุดไหน อย่างเช่นจุดเริ่มต้นรากเหง้าเราเป็นชาวนา สุดท้ายแนวความคิดก็จะกลับมาจุดเริ่มต้นนั้นอีกครั้ง และอีกครั้ง แต่รากเหง้าเราสมัยก่อนใช้ควายเป็นเครื่องมือในการช่วยทำนา (อิอิ แอบบอกอายุ) แต่เกษตรรุ่นใหม่อย่างเรา (ไม่เกี่ยวกับอายุนะ) ถือว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานที่เป็นหลักวิชาการแล้ว วิถีการทำนาก็จะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำนาให้เหมาะสมกับเงื่อนไขทางสังคมและสถานภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป คำถามคือจะเริ่มยังไงล่ะ สมัยก่อน รุ่นพ่อแม่เราเรียนรู้จากการลงมือทำ แต่สำหรับเราเรียนและทำงานออฟฟิศมาตลอด จะทำเป็นไหม หาทางลัดก็ลงมือศึกษาสิคะ จากผู้มีประสบการณ์ อบรมฟรีด้วย แนะนำเลยค่ะ ที่นี่เลย สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรงข้ามโรงพยาบาลนวนคร รังสิต

เกริ่นมาตั้งนานเข้าเรื่องเลยดีกว่า ก่อนเราจะเริ่มกิจกรรมหรือวางแผนอะไรเราต้องจัดปฏิทินกิจกรรมการทำงานก่อนใช่ไหมคะ มาดูปฏิทินกิจกรรมในการทำนา ยกตัวอย่าง นาปี ภาคอีสานมานะคะ

mix thaifamer

เดือน

กิจกรรม

มกราคม ถึง มีนาคม -ไถกลบฟาง หว่านปุ๋ยพืชสดหลังทำนา (ถั่วพร้า) ในเดือนมกราคมแล้วไถดะ (ไถกลบ) ในเดือนมีนาคม ถึง เมษายน เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ในปีต่อไป
เมษายน -การเตรียมพันธุ์ / การคัดเลือกพันธุ์ โดยวิธีการเตรียมพันธุ์ เลือกจากลักษณะรวงใหญ่ รวงกัมเพราะหนัก เมล็ดสมบูรณ์เต็ม แล้วแยกพันธุ์ ตากผึ่งแดด ใส่กระสอบมัดมิดชิดแขวนไว้ที่ร่ม-เตรียมปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อบำรุงดิน และเตรียมดิน
พฤษภาคม -การเตรียมดิน โดยการไถฮุด / ไถดะ ครั้งที่ 1 เพื่อให้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยพืชสดย่อยสลายไป ทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์
มิถุนายน -การตกกล้า (สำหรับการทำนาดำ)-ไถเตรียมแปลง ไถกลบครั้งที่ 2 ช่วงเดียวกับการตกกล้าเพื่อทำให้ดินแตกละเอียด ร่วนขึ้น-การบันทึกแผนผัง แปลงตกกล้าและแปลงปักดำ และติดป้ายชื่อพันธุ์ข้าวแต่ละสายพันธุ์
กรกฎาคม -เมื่อกล้าอายุประมาณ 1 เดือน ในเดือนกรกฏาคม ทำการไถแปร (ไถสวนทางเดิม) พร้อมกับใส่ปุ๋ยชีวภาพ แล้วไถคราดให้พื้นที่เสมอระดับกัน สูบน้ำเข้านาพอประมาณ พอให้ดินเป็นตม (โคลน)-การถอนกล้า – ปักดำ (โดยการปักดำเป็นแถวเป็นแนว)
สิงหาคม ถึง ตุลาคม -การดูแลหลังการปักดำ-การออกตอก-การออกรวง-การเก็บเกี่ยว-สังเกตความชื้นในแปลง โดยการควบคุมระดับน้ำในแปลง-สังเกตและกำจัดศัตรูพืช กำจัดวัชพืชที่ทำลายต้นข้าว เช่น ปู หอย และ กำจัดวัชพืช จำพวกหญ้าต่างๆ เช่น หญ้าไข่เขียด ผักอีฮิน หญ้าโสน เป็นต้น-การตัดข้าวปน โดยถอนข้าวปนที่ขึ้นนอกแถว-การบันทึกการเจริญเติบโตของพันธุ์ข้าว จดบันทึกคุณลักษณะประจำพันธุ์ข้าวแต่ละสายพันธุ์
ตุลาคม -บันทึกการออกรวงข้าว บันทึกการเจริญเติบโตของข้าวกลางและข้าวหนัก-เก็บเกี่ยวข้าวเบา
พฤศจิกายน ถึง ธันวาคม -ทำการจดบันทึกพันธุ์ข้าวกลาง และข้าวหนักที่ทยอยออกดอกออกรวงไปตามลำดับ-เก็บเกี่ยวข้าวกลางและข้าวหนัก-นวดข้าว เก็บข้าว

เป็นอย่างไรบ้างคะ แลดูยากอยู่ แต่ก็ไม่น่าจะเกินความสามารถ เหมือนเราเริ่มทำงานดูยากอยู่แต่เมื่อผ่านวันเวลา เราก็เอาอยู่ จริงไหมคะ สู้สู้

Comments
  1. ขอบคุณมากครับ เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มาก 😀

Leave A Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.