Monthly Archive:: June 2013

Latest Posts

มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ยักษ์การเงินญี่ปุ่น เตรียมเทกโอเวอร์กิจการ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

 “มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ”  เตรียมเทกโอเวอร์กิจการ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สื่อญี่ปุ่น หลายสำนัก รายงานข่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2556  ระบุว่า ทางมิตซูบิชิ  ยูเอฟเจ ไฟแนนเชี่ยล กรุ๊ป อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของธนาคาร “แบงค์ ออฟ โตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ เตรียมเข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 51  ของธนาคารกรุงศรีอยุธยาของไทย  หรือมูลค่าประมาณ  4  แสนล้านเยน (ราว 1.23 แสนล้านบาท)  เพื่อขยายฐานธุรกิจของเอ็มยูเอฟจี ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  คาดว่าจะบรรลุข้อตกลงภายในช่วงต้นเดือน กรกฎาคม 2556 นี้ มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ  ตั้งอยู่ย่านชิโยดะในกรุงโตเกียว และมีฐานะเป็นกลุ่มการเงินที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นด้วยมูลค่าทรัพย์สินที่ครอบครองไม่ต่ำกว่า  1.7 

มาตรการ QE:นายเบน เบอร์นันเก้ แถลงการณ์ล่าสุดกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

มาตรการ QE  : ภายหลังจากนายเบน  เบอร์นันเก้ ออกแถลงการณ์ (20/6/56) ภายหลังจากผลการประชุม”เฟด” ล่าสุด  นายเบน เบอร์นันเก้  ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)  ได้ออกแถลงการณ์ ส่งสัญญานว่าเฟดอาจเริ่มลดขนาดการเข้าซื้อพันธบัตรในปลายปีนี้   สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ เฟด จะเริ่มชะลอโครงการซื้อพันธบัตรหรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)  ในปลายปีนี้ หากเศรษฐกิจฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ไว้ และหากข้อมูลเศรษฐกิจยังคงออกมาสอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ เฟดจะยังคงลดขนาดวงเงินซื้อพันธบัตรไปจนถึงช่วงครึ่งปีแรกของปีหน้า และคาดว่าจะสิ้นสุดโครงการซื้อพันธบัตรประมาณกลางปีหน้า เฟดยังคงเดินหน้าซื้อสินทรัพย์ในวงเงินปัจจุบันที่  85,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ  จนกว่าแนวโน้มในตลาดแรงงานจะปรับตัวดีขึ้น  ปัจจัยดังกล่าวพบว่าส่งผลให้ตลาดหุ้นราคาพันธบัตรร่วงอย่างหนักและหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือน เศรษฐกิจที่เติบโตในอัตราปานกลาง  น่าจะส่งผลให้ตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น  ในขณะที่แรงกดดันทางเศรษฐกิจลดน้อยลง  และยังกล่าวด้วยว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายเฟดคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นเข้าใกล้าระดับเป้าหมายระยะยาวที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% เฟดจะปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมาตรการคิวอี (QE)

รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย ภ.พ.30 (VAT)

 การจัดทำรายงานภาษีขาย เมื่อผู้ประกอบการที่เป็นผู้ขายและอยู่ในระบบมูลค่าเพิ่ม  เรียกเก็บเงินจากลูกค้าจะต้องบวก ภาษีขาย หรือ VAT  ขาย  และผู้ประกอบการจะต้องนำส่ง ภาษีขาย ให้กรมสรรพากรก่อนวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (ใบนำส่งภาษีที่กิจการต้องกรอก  เรียกว่า แบบ ภ.พ.30  หรือ แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม   เมื่อมีการขายสินค้ากิจการจะออกใบกำกับภาษีขายขึ้นซึ่งประกอบด้วย ต้นฉบับ = 1 + สำเนา = 5 รวมเป็น  6  ใบ )   ต้นฉบับใบกำกับภาษี + สำเนา 1 ใบ  ให้ลูกค้า  ส่วนที่เหลือ 4  ใบ  ใบแรกเก็บเข้าแฟ้ม   ใบที่

เงินทดรองจ่าย (Advance) : ตอนที่ 9

เงินทดรองจ่ายคืออะไร ครั้งที่แล้วเขียนหัวข้อ เงินสดย่อย  ได้พูดถึงเงินทดรองจ่ายไว้  หลายคนอาจยัง งงๆ อยู่ว่า เงินสดย่อยกับเงินทดรองจ่ายแตกต่างกันอย่างไร  อย่ารอช้าไปดูกันว่าเงินทดรองจ่ายหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เงินจ่ายล่วงหน้าคืออะไร เงินทดรองจ่าย คือเงินที่กิจการจะมีการให้เบิกทดรองจ่ายไปล่วงหน้าตามสัญญาหรือความจำเป็นที่ต้องจ่ายเงินสดหน้างาน / โครงการ  สำหรับจ่ายค่าจ้าง , ค่าใช้จ่ายอื่นๆ จำเป็นที่เร่งด่วน  ให้ทันเหตุการณ์  ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น  เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบโครงการ   โดยค่าใช้จ่ายนั้นต้องเบิกตามระเบียบของกิจการ  วงเงินที่จ่ายแล้วแต่ความจำเป็น  เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน   ซึ่งต่างจากเงินสดย่อยที่ใช้ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายจำนวนเล็กๆ น้อยๆ ขั้นตอน หลักเกณฑ์ในการจ่าย / เคลียร์  เงินทดรอง 1.  ผู้ขอเบิกเงินทดรองจ่าย ทำบันทึกข้อความเพื่อขอยืมเงินทดรองโดยระบุวัตถุประสงค์การเบิก  ส่งให้หัวหน้าหน่วยงาน / แผนกของตัวเองตรวจสอบเซ็นรับรองก่อน  แล้วกรอกรายละเอียดลงในใบเบิกเงินยืมทดรองจ่าย  ส่งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำเสนอกรรมการผู้จัดการเพื่อขออนุมัติ 2.  เจ้าหน้าที่บัญชีรับใบอนุมัติพร้อมหลักฐานตรวจสอบเอกสารหลักฐานว่า