วิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองในครัวเรือน

การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง

            คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ในการดำรงอยู่ของมนุษย์ คือ การกิน  เราทำมาหากิน ที่ควรคำนึงถึงคือ การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น   เช่น ปลูกผักกินเอง ก็เกิดคำถามว่าอยู่คอนโดไม่มีพื้นที่เพาะปลูก บอกได้เลยว่าเพียงแค่ระเบียงพื้นที่เล็กๆ ก็สามารถปลูกได้   ก่อนลงมือปลูกเรามาเรียนรู้ วิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความจำเป็นที่เราต้องเรียนรู้ไว้ ในฐานะที่เป็นประเทศเกษตรกรรม  หากสังเกตดีๆ เมล็ดพันธุ์ที่เราซื้อมาจากร้านค้าเมื่อปลูกแล้ว เราไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้  เนื่องจากเมล็ดพันธุ์แท้หรือพันธุ์พื้นเมืองเริ่มหายไป ทดแทนโดยเมล็ดพันธุ์ที่ได้ถูกทำการปรับแต่งพันธุกรรมแล้ว   เริ่มเรียนรู้กันดีกว่า ว่าพืชผักตะกูลต่าง ๆ มีวิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์อย่างไร

ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์

ตะกูลแตง         เช่น ฟักทอง  ฟัก แตงกวา บวบต่างๆ

การเก็บเกี่ยว    เก็บผลแก่ที่มีขนาดใหญ่ และมีสีเหลือง

การทำความสะอาด  ผ่าผลตามยาว ใช้ช้อนตักเมล็ดออกมาหมักไว้ 1 คืน  ล้างเมล็ดให้สะอาดแล้ว                         

                                 ตากแดด 1  แดด  จากนั้นนำมาฝังในร่ม 2 วัน จึงเก็บได้

พริก เช่น พริกขึ้หนู  พริกสด พริกหยวก พริกหอม  พริกกระเหรี่ยง

  • การเก็บเกี่ยว  เก็บผลที่แก่สีแดงจัด เก็บเกี่ยวผลทั้งขั้วบ่มในที่ร่ม 3 – 5 วัน
  • การทำความสะอาด   ผ่าเปลือกออกให้เหลือเฉพาะแกนผลแกะเอาเมล็ดไปตากแดด 3 – 4  แดด

ผักตะกูลกระหล่ำ เช่น คะน้า ผักกาดขาว กวางตุ้ง  กะหล่ำปลี กระหล่ำดอก

  • การเก็บเกี่ยว   สังเกตว่าผักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน  เมล็ดสีดำ เก็บเกี่ยวโดยตัดทั้งต้นมัดรวม 2 – 3 ต้นต่อมัด
  • การทำความสะอาด   แขวนตากแดดปมกลางแจ้ง 7 – 10 วัน เคาะเอาเมล็ดและทำความสะอาด

ข้าวโพด

  • การเก็บเกี่ยว   เลือกฝักที่ 2 หรือ 3 ของต้น หรือฝักที่อยู่บริเวณกลางๆ ปล่อยให้ฝักแก่และแห้งคาต้นจึงเก็บฝัก
  • การทำความสะอาด   แขวนฝักข้าวโพดทั้งเปลือก ตากแดด 2 วัน จากนั้นแกะเมล็ดออกจากฝัก นำไปฝัดเพื่อทำความสะอาด

มะเขือ  เช่น มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือพวง ฯลฯ

  • การเก็บเกี่ยว   เลือกเก็บผลสุกมาก ซึ่งจะมีสีน้ำตาล บ่มในร่ม 3 วัน เพื่อให้เมล็ดแก่เต็มที่
  • การทำความสะอาด   หั่นส่วนปลายออก แล้วทุบให้เมล็ดแตกออกมา นำเมล็ดหมักไว้ 1 คืน จากนั้นจึงนำไปตากแดด 2 – 3 แดด

การตากเมล็ดพันธุ์

            การตากคือการทำให้เมล็ดแห้งซึ่งมีความจำเป็นมากต่อเมล็ดพันธุ์ เพราะเมล็ดพืชมีชีวิต หากมีความชื้นมากก็จะทำให้เมล็ดขึ้นราได้ง่ายและอ่อนแอต่อแมลงศัตรูพืช การตากแดดจึงช่วยลดความชื้นที่มีอยู่ในเมล็ดให้เหลืออยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการมีชีวิตแต่ไม่สามารถงอกได้ ซึ่งทำได้ดังนี้

                1.  ปูกระดาษ หรือแผ่นพลาสติกตรงบริเวณที่มีแสงแดดส่องตลอดวัน

                2.  เขี่ยเมล็ดพันธุ์กลับไปมา วันละ  2 – 3  วัน

                3. เมื่อถึงตอนเย็น ควรเก็บเข้าร่มเพื่อป้องกันน้ำค้างลง

                4. เมื่อเมล็ดแห้งดี จึงเก็บบรรจุใส่ในภาชนะ

 การป้องกันแมลงทำลาย ก่อนการบรรจุ

เมล็ดถั่วต่างๆ

  • แบบที่  ถั่วเขียว  1  กิโลกรัม  ใช้เมล็ดละหุ่งบด 40 กรัม ผสมคลุกเคล้าให้ทั่ว
  • แบบที่  น้ำมันพืช 2 ช้อนชา ต่อเมล็ดถั่ว 1 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้าให้ทั่ว

เมล็ดพันธุ์พืชทั่วไป

  • แบบที่  ใบยี่โถหั่นฝอยอบแห้ง 40 กรัม ต่อเมล็ดพืช 1 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้าให้ทั่ว
  • แบบที่  ขมิ้นชันป่น 50 กรัม ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้าให้ทั่ว
  • แบบที่  ปูนขาว 50 กรัม ต่อเมล็ดพืช 1 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้าให้ทั่ว

การเก็บรักษา

            ประเทศเรามีสภาพอากาศร้อนชื้น ทำให้เมล็ดพันธุ์สูญเสียการงอกอย่างรวดเร็วหลังเก็บเกี่ยว หากต้องการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ได้นานๆ จึงควรให้ความสำคัญต่อปัจจัยต่างๆ ดังนี้

                1.สภาพเมล็ดก่อนการจัดเก็บ เมล็ดที่แก่จัดและมีความสมบูรณ์จะเก็บได้นานกว่าเมล็ดที่ได้รับความเสียหายจากเครื่องจักร

                2. ความชื้นของเมล็ด และความชื้นของสภาพอากาศ ถ้าเมล็ดแห้งและอากาศแห้งจะเก็บเมล็ดไว้ได้นาน ภาชนะที่ใช้ในการเก็บบรรจุเมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้นจากภายนอกได้จึงสำคัญมาก

                3. อุณหภูมิกับการเก็บเมล็ดพันธุ์ สำหรับการเก็บรักษาพืชทั่วไปแล้วไม่ควรเก็บในที่ๆ มีอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซนเซียส การเก็บที่อุณหภูมิต่ำ จะเก็บได้นานกว่าในที่อุณหภูมิสูง

                4. ส่วนประกอบของเมล็ด เมล็ดพืชที่ประกอบด้วยแป้ง  เช่น ข้าวโพด มะเขือ พริก ฯลฯ  จะเก็บได้นานกว่าพวกที่ประกอบด้วยไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวกถั่วต่างๆ

ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุ

                1.ถุงตาข่าย ถุงผ้า และถุงกระดาษ ทำให้การแลกเปลี่ยนอากาศระหว่างเมล็ดกับอากาศได้มาก ป้องกันความชื้นและการถ่ายเทอากาศได้น้อย การเก็บรักษาเมล็ดได้นานกว่า หากเป็นขวดแก้วที่มีสีชาจะเก็บไว้ได้นานกว่าขวดใส เก็บได้นานประมาณ 1  ปี  หรือ ในตู้เย็น  เก็บไว้ได้นาน 1 – 3  ปี

                2.ถุงพลาสติก กระป๋อง ขวดแก้ว และภาชนะทึบที่มีฝาปิด สามารถป้องกันความชื้นและการถ่ายเทอากาศได้น้อย การเก็บรักษาเมล็ดได้นานกว่า  หากเป็นโอ่งหรือไหดินที่แห้ง เก็บได้นานประมาณ 1 ปี  หรือในตู้เย็น  เก็บไว้ได้นาน 1 – 3  ปี

ถ้าหากต้องการหาความรู้ทางด้านเกษตรกรรม มีหลายแห่งที่เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ เช่น พิพิธภัณฑ์การเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ตรงข้ามโรงพยาบาลนวนคร  ได้นะคะ

 

Leave A Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.