เรื่องการเงิน ( (Financial literacy) Archive

Latest Posts

ค่าเงินบาท : มาตรการ 7 7 8

                หลังจากที่ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ออกมาตรการเพิ่มปริมาณเงิน หรือ QE ของประเทศ ทำให้เกิดการไหลของเงินทุน  ส่งผลต่อค่าเงินบาท ตลาดทุน จนหลายฝ่ายหวั่นวิตก  เพราะได้รับผลกระทบถ้วนหน้า  ได้แต่เฝ้ารอ เมื่อไหร่หนอ มาตรการป้องกันที่เตรียมประกาศออกมาเพื่อป้องกันการไหลของเงินลงทุนในตราสารหนี้ และ ตราสารทุน ดังกล่าว วันนี้ (29 พฤษภาคม 2556) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)  มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.75 เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี มีผลทันที สรุปสาระสำคัญ  กระทรวงการคลังแก้กฎคุมเงินเข้าออก ประกาศเป็นกฎกระทรวง

ตราสารทุน (equity instrument)

ตราสารทุน  คือการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการซื้อขายหุ้น ก็คือการซื้อขายตราสารทุนโดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ หุ้นสามัญ (Common Stock) เป็นหุ้นซึ่งบริษัทต่างๆ นำออกมาขายบุคคลทั่วไป  เพื่อระดมทุนในการขยายกิจการบริษัท โดยผู้ที่เป็นเจ้าของมีสิทธิ์ออกเสียงในการตัดสินใจที่สำคัญๆ โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลเมื่อบริษัทได้กำไรตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่มีอยู่ เป็นหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหุ้นในปัจจุบัน           หุ้นบริมสิทธิ์ (Preferred Stock)  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์  เป็นหุ้นซึ่งบริษัทขายออกมาและสามารถเรียกซื้อคืนกลับไปได้  ผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลเป็นอัตราคงที่  มักจะมีการซื้อขายเป็นล็อตใหญ่ๆ ล๊อตละ 10 ล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น  (คุ้นๆ ตามข่าวไหมคะ) กองทุนรวม  คือ เครื่องมือในการลงทุน สำหรับผู้ลงทุนรายย่อยที่ประสงค์จะนำเงินมาลงทุนในตลาดเงินตลาดทุนแต่มีทุนทรัพย์จำนวนจำกัด  ไม่มีประสบการณ์  ความรู้  ความชำนาญ  และไม่มีเวลา จึงให้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความรู้และมีประสบการณ์นำเงินไปลงทุนตามนโยบายของกองทุนนั้นๆ  และเมื่อกองทุนได้กำไรจากการลงทุน  ก็นำรายได้นั้นมาเฉลี่ยแบ่งให้กับผู้ลงทุนแต่ละรายมากน้อยตามจำนวนหน่วยที่ลงทุนที่ซื้อเอาไว้

ตราสารหนี้คืออะไร (Bond)

ตราสารหนี้คืออะไร (Bond) อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทุกปี รายจ่ายเพิ่มขึ้น เงินเดือนคงที่ หลายคนคิดหารายได้เสริมเพื่อให้มีรายได้มากกว่ารายจ่าย เงินที่เหลือนั่นหมายถึงเงินออม ฝากธนาคาร และเมื่อมีเงินออมพอสมควรแล้วเราจะบริหารเงินออมให้ผลิดอกออกผลทำให้มันงอกเงยได้อย่างไร มันก็คงยากพอๆ กับตอนที่คุณคิดว่าจะขายอะไรดี ตอนคิดหารายได้เสริมใช่หรือไม่ ก่อนอื่นไปทำความรู้จักกับหน่วยลงทุนที่นอกเหนือจากเงินฝากประเภทต่างๆที่เรารู้จักกันดีแล้ว ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงิน ในรูปของ สัญญาทางการเงินระหว่างผู้ออกตราสารหนี้ และผู้ถือตราสารหนี้ มีกำหนดอายุและอัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่แน่นอน มีการระบุวันชำระดอกเบี้ยและเงินต้นล่วงหน้า หรือจะเรียกง่ายๆ ก็คือสัญญากู้ยืมเงินที่ผู้ออกตราสารอยู่ในฐานะลูกหนี้ เนื่องจากผู้ออกตราสารต้องการนำเงินไปลงทุน ส่วนผู้ซื้อจะอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ การลงทุนในตราสารหนี้ จะได้รับดอกเบี้ยสม่ำเสมอ ความเสี่ยงไม่มาก ในระหว่างถือยังไม่ครบกำหนดสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราเงินฝาก ณ เวลาที่ออกพันธบัตร ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล เรียกว่า “พันธบัตร” ตั๋วเงินคงคลัง เป็นตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี รัฐบาลจะออกเพื่อกู้เงินระยะสั้นจากประชาชนหรือนักลงทุน ไม่มีดอกเบี้ยแต่จะขายในราคาที่ต่ำกว่าที่ระบุในตั๋ว

มาตรการ QE คืออะไร (Quantitative Easing)

มาตรการ QE คืออะไร (Quantitative Easing)   QE มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน ย่อมาจากคำว่า Quantitative Easing เป็นนโยบายด้านการเงินที่ไม่เป็นแบบแผน ที่ดำเนินการโดยธนาคารกลางในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีที่นโยบายทางการเงินที่เป็นแบบแผนตามปกตินั้นเริ่มไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถขับเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจได้ โดยการเข้าไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ ฯลฯ จากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินของเอกชนทั้งในและนอกประเทศ มาตรการ QE เป็นที่รู้จักว่าเป็นการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติม (Printing Money) ซึ่งก็คือเม็ดเงินใหม่ๆ ที่อัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนั่นเอง สามารถใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ รวมถึงสถาบันการเงินสามารถดำเนินการปล่อยสินเชื่อในการดำเนินธุรกิจได้มากขึ้นอีกด้วย QE ถ้าจะพูดแบบชาวบ้านก็คือการเพิ่มเพดานหนี้นั่นเอง   คราวที่แล้วธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือ BOJ (Bank of Japan) จัดหนักประกาศมาตรการ QE ล่าสุดได้ประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1 ของปีนี้

ปัญหาค่าเงินบาท Weak & strong agaist (another currency)

ปัญหาค่าเงินบาท Weak & strong agaist (another currency)  หลังจากที่ค่าเงินบาทแข็งค่าจนหลายคนหวาดหวั่น แต่แล้วช่วงนี้หลายคนคงได้ยินเรื่องค่าเงินบาทมีการผันผวนเร็วเกินไปแกว่งขึ้นๆ ลงๆ  จนผู้ประกอบการไม่สามารถตั้งราคาค่าสินค้าได้   เกิดอะไรขึ้น  อย่างไรก็ตามค่าเงินแข็งหรืออ่อน  มันเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจที่มีประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ  เช่น ก่อนหน้านี้ข่าวสหรัฐอเมริกาปั้มดอลลาร์  จนเกิดการไหลบ่าของเงินลงทุน  ล่าสุดประเทศที่มีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยนั่นคือญี่ปุ่นปั้มเงินเยนบ้าง  ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ)  เตรียมยาแก้ไว้  เพื่อป้องกันการที่นักลงทุนอาศัยทำกำไรจากค่าเงิน ตามข่าว ธนาคารแห่งประเทศไทย เตรียมออกมาตรการการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือภาษีเงินไหลเข้าไหลออกแบบขั้นบันได คือถือครองสั้นเก็บค่าธรรมเนียมเยอะถือครองยาวอาจไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม  ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนลงอย่างเห็นได้ชัด แต่จะเป็นอย่างนี้ยั่งยืนหรือเปล่าแนวโน้มในระยะต่อไปน่าจะแข็งขึ้นอีก และมีการคาดว่าจะคงตัวอยู่ที่  28-29  บาท กุญแจดอกสำคัญอยู่ที่ญี่ปุ่นเงินเยนปั้มเงินออกมาเพื่อไล่ซื้อเงินดอลลาร์อย่างมหาศาล   ญี่ปุ่นจะพิมพ์แบงค์ออกมาในตลาดเพื่อให้เงินเยนอ่อนค่าลง เพื่อส่งเสริมการส่งออกและส่งเสริมการลงทุน ซึ่งก็คือ ญี่ปุ่นออกมาตรการ QE หรือ Quantitative Easing