Author Archive

Latest Posts

วงจรบัญชีสำหรับกิจการก่อสร้าง (ตอน3)

วงจรบัญชีสำหรับกิจการก่อสร้าง  (ตอน3) ก่อนเข้าเรื่องการบันทึกบัญชี  เรามาตรวจสอบกันว่าเปิดแฟ้มเก็บเอกสารครบหรือยัง นอกเหนือจากตอน2 ทีนี้มาสำรวจของส่วนบัญชีกัน 1 แฟ้มเก็บข้อมูลงานสนามก่อสร้าง ไว้เก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างทั้งหมด แยกเก็บ 1 สัญญา 1 แฟ้ม 2 แฟ้ม สมุดรายวันซื้อ 3 แฟ้ม สมุดรายวันขาย 4 แฟ้ม สมุดรายวันรับ 5 แฟ้ม สมุดรายวันจ่าย 6 แฟ้ม สมุดรายวันทั่วไป 6 แฟ้ม ใบสั่งซื้อสินค้า 7 แฟ้ม ใบรับสินค้า 8 แฟ้ม ภาษีซื้อ (เอาไว้ทำ ภ.พ.30) 9

วงจรบัญชีสำหรับกิจการก่อสร้าง (ตอน2)

วงจรบัญชีสำหรับกิจการก่อสร้าง ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2552) กำหนดไว้ว่า เมื่อกิจการสามารถประมาณผลของงานก่อสร้างตามสัญญาได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องรับรู้รายได้ก่อสร้างและต้นทุนก่อสร้างเป็นรายได้และค่าใช้จ่าย  โดยอ้างอิงกับขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน  ตามวิธีอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of completion)  ถ้างานก่อสร้างที่มีระยะเวลานานกว่ารอบบัญชี มักจะดูความสำเร็จตามที่ทำจริงของงานก่อสร้าง  ทีนี้มารู้ความหมายส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชีก่อสร้าง ว่ามีรายการอะไรบ้าง การวัดมูลค่าของรายได้งานก่อสร้าง  หมายถึง  การวัดอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ หรือขั้นความสำเร็จของงานตามสัญญา และการวัดมูลค่าของรายได้อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต เช่น ผู้ว่าจ้างตกลงดัดแปลงงาน  แก้ไขแบบแปลนก่อสร้าง หรืออาจมีเหตุการณ์ที่กิจการส่งงานล่าช้าเป็นเหตุให้ต้องจ่ายค่าปรับที่เกิดจากการปฏิบัติงานก่อสร้างล่าช้าไม่เสร็จตามสัญญาทำให้รายได้ลดลง  แต่ถ้าเหตุของความล่าช้าไม่ได้เกิดจากกิจการ เช่น ก่อสร้างไปแล้วไปติดอุปสรรค ก็ทำหนังสือขอสงวนสิทธิ์แจ้งหยุดงานไว้ก่อน แล้วเมื่อหน้างานพร้อม ก็ขอเริ่มงานใหม่ แล้วก็ขอขยายอายุสัญญา อย่างนี้ก็ไม่ส่งผลต่อรายได้ก่อสร้าง  เป็นต้น รายได้ค่าก่อสร้าง (Contract
acc-construction

การบัญชีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (ตอน 1)

โดยส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยกับบัญชีธุรกิจซื้อมาขายไป บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับการบัญชีสำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกัน สำหรับการดำเนินงานตามสัญญาก่อสร้างของกิจการรับเหมาก่อสร้างมักมีวันเริ่มต้นงานก่อสร้าง และวันสิ้นสุดงานก่อสร้างอยู่ต่างงวดบัญชีกัน ดังนั้น การรับรู้รายได้และต้นทุนงานก่อสร้างในแต่ละงวดบัญชีต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การรับรู้รายการของแม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2552) และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2552) โดยพิจารณาจากความน่าเชื่อถือในการประมาณผลของงานก่อสร้าง เมื่อกิจการสามารถประมาณผลของงานก่อสร้างได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องรับรู้รายได้และต้นทุนงานก่อสร้างของสัญญาเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายเข้างบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ โดยอ้างอิงกับขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงงาน แต่ถ้าไม่สามารถประมาณผลของงานก่อสร้างได้อย่างน่าเชื่อถือ ต้องรับรู้รายได้ไม่เกินกว่าต้นทุนค่าก่อสร้างที่เกิดขึ้น และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะได้รับต้นทุนนั้นคืน โดยต้องรับรู้ต้นทุนค่าก่อสร้างที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดเป็นค่าใช้จ่าย และรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายทันที มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2552) เรื่องสัญญางานก่อสร้าง ซึ่งถือปฏิบัติกับงบการเงินในหรือหลัง 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป กำหนดว่า สัญญาก่อสร้าง (Construction Contract) หมายถึง สัญญาที่ทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อก่อสร้างทรัพย์สินรายการเดียว
Tax invoice-2557.xlsx

กรมสรรพากรกำหนดเพิ่มเติมว่าต้องมีในการออกใบกำกับภาษี มีผล 1 ม.ค.58

ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรได้กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องทำรายการในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ  จัดทำรายการของใบกำกับภาษีดังกล่าวให้ครบถ้วน ดังนี้ คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่เห็นเด่นชัด ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีและหมายเลขลำดับของเล่ม  ถ้ามี ชื่อ ชนิด ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดเจน วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด   โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557  เป็นต้นไป  มีรายการที่ต้องจัดทำเพิ่มขึ้นจากรายการดังกล่าวข้างต้น  คือ รายการเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ รายการคำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือ “สาขาที่….”  ซึ่งเป็นสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 
plan-1

การกำหนดแผนกลยุทธ์แผนกบัญชีการเงินและการกำหนด KPI ( Strategy to Action Plan Acounting&KPIs)

การกำหนด Job Description  หมายถึง บทพรรณนางานเปรียบเสมือนป้ายชี้ทางการปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละตำแหน่ง ช่วยให้เราได้ทราบถึงภารกิจ หน้าที่ รวมทั้งช่วยกำหนดแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงงานอีกด้วย  เหมือนเรามีบ้าน 1 หลัง  ก็จะแบ่งเป็นห้องนอน ห้องรับแขก  ห้องครัว  แต่ละห้องก็จะมีเก้าอี้ใหญ่เล็กต่างกันออกไป  เปรียบกับโครงสร้างขององค์กรเช่นกัน เพื่อรองรับวิสัยทัศน์  พันธกิจ  ขององค์กรหน่วยงาน จากนั้นก็ต้องมาจัดบทบาท  ภารกิจของแต่ละคน ซึ่งก็ต้องให้ชัดเจนด้วย โดยเฉพาะแผนกบัญชีการเงินเพราะปัญหาที่พบบ่อยในการทำงาน  คือ 1.ไม่มีผลงานทั้งที่ทำงานมาก  กลับดึกแถมหอบงานมาทำต่อที่บ้านอีก 2.ทำทุกอย่างยกเว้นงานในหน้าที่ตัวเอง  ประเภทรู้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องตัวเอง 3.ความยากลำบากในการทำงาน  การประสานงาน การแก้ปัญหา  อำนาจการตัดสินใจ  รวมทั้งการพัฒนางาน 4.ขาดความไว้วางใจกันระหว่างหัวหน้างานกับลูกน้อง 5.ผลการประเมินมักไม่เป็นที่พอใจของของแต่ละฝ่าย   การกำหนดดัชนีความสำเร็จของงาน (Key Performance indicators :