Monthly Archive:: April 2013

Latest Posts

manee1

หนังสือเรียนภาษาไทยในรอยจำ มานะ มานี ปิติ ชูใจ

ย้อนกลับไปเมื่อตอนเริ่มเรียนหนังสือตอน ป.1  ไม่ทราบว่าท่านใดทันได้เรียนหนังสือเรียนภาษาไทย มานะ มานี ปิติ ชูใจ  หลักสูตรนี้ใช้ระหว่างปี 2521 – 2537   เป็นหนังสือที่อยู่ในความทรงจำ  เรื่องราวของตัวละคร และการดำเนินเรื่องสนุกสนาน นอกจากอ่านแล้วเพลิดเพลินแล้ว   เรื่องราวบทบาทของตัวละคร บุคลิกลักษณะนิสัย  ครอบครัวและเหตุการณ์ต่างๆ  ได้สอดแทรกคุณธรรม  และมีการเพิ่มประสบการณ์ทางภาษา   ซึ่งในแต่ละบทเรียนมีภาพประกอบ ส่วนท้ายบทเรียนแต่ละบท มีแบบฝึกฝนความรู้  โดยมีการลำดับการเรียนรู้สื่อความหมายให้เข้าใจได้ง่าย  แบ่งเป็น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1-2  มี  40 บท มีการผูกเรื่องราวผ่านตัวละคร 5 คน คือ มานะ ปิติ วีระ มานี ชูใจ 

ปฏิทินกิจกรรมในการทำนา (นาปี-ภาคอีสาน)

การทำนา : ปฏิทินกิจกรรมในการทำนา (นาปี-ภาคอีสาน) มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา เหมือนการลากเส้นเริ่มต้นจากจุดๆ หนึ่งไปยังจุดอีกจุดหนึ่งไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาก็กลับไปยังจุดเริ่มต้นอีกครั้ง สุดท้ายก็กลับมาแนวคิดเดิมเราเริ่มจากจุดไหน อย่างเช่นจุดเริ่มต้นรากเหง้าเราเป็นชาวนา สุดท้ายแนวความคิดก็จะกลับมาจุดเริ่มต้นนั้นอีกครั้ง และอีกครั้ง แต่รากเหง้าเราสมัยก่อนใช้ควายเป็นเครื่องมือในการช่วยทำนา (อิอิ แอบบอกอายุ) แต่เกษตรรุ่นใหม่อย่างเรา (ไม่เกี่ยวกับอายุนะ) ถือว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานที่เป็นหลักวิชาการแล้ว วิถีการทำนาก็จะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำนาให้เหมาะสมกับเงื่อนไขทางสังคมและสถานภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป คำถามคือจะเริ่มยังไงล่ะ สมัยก่อน รุ่นพ่อแม่เราเรียนรู้จากการลงมือทำ แต่สำหรับเราเรียนและทำงานออฟฟิศมาตลอด จะทำเป็นไหม หาทางลัดก็ลงมือศึกษาสิคะ จากผู้มีประสบการณ์ อบรมฟรีด้วย แนะนำเลยค่ะ ที่นี่เลย สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรงข้ามโรงพยาบาลนวนคร รังสิต เกริ่นมาตั้งนานเข้าเรื่องเลยดีกว่า ก่อนเราจะเริ่มกิจกรรมหรือวางแผนอะไรเราต้องจัดปฏิทินกิจกรรมการทำงานก่อนใช่ไหมคะ มาดูปฏิทินกิจกรรมในการทำนา ยกตัวอย่าง นาปี ภาคอีสานมานะคะ เดือน กิจกรรม มกราคม

การทำนาอินทรีย์

มีโอกาสได้เข้ากลุ่มผู้สนใจการทำนา  มี่พี่ใจดีให้คู่มือการทำนาอินทรีย์ เลยขออนุญาตนำมาเผยแพร่ให้สนใจดาวน์โหลดไว้เป็นคู่มือ  “อยากให้ประเทศไทยปลอดสารเคมี” ทำนาแบบดั้งเดิมค่ะ   ดาวน์โหลดคู่มือทำนาอินทรีย์ที่นี่   เครดิต ขอบคุณ มูลนิธิขวัญข้าว (KKF)