ใบลดหนี้ Archive

Latest Posts

ใบลดหนี้ (Credit note)

ใบลดหนี้ หรือใบส่งคืน (Credit note)  เป็นเอกสารสำคัญในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม  กฎหมายให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษี  ผู้ประกอบการที่มีสิทธิออกใบลดหนี้ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม   ถ้ามีการขายสินค้าโดยส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อไปแล้วถ้าต่อมาปรากฏว่ามูลค่าสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลง  ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (ถ้าออกใบลดหนี้โดยไม่มีเหตุการณ์ที่กฎหมายกำหนดไว้นี้  จะต้องรับผิดชอบเสียเบี้ยปรับ  2 เท่า)  เหตุการณ์ที่กฏหมายกำหนดมีดังนี้ ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน  ได้คืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้ากับผู้ขายสินค้า   หรือมีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน  คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง ได้รับสินค้าที่ขายกลับคืนมา  เนื่องจากสินค้าชำรุดบกพร่อง  ไม่ตรงตามตัวอย่าง  ไม่ตรงตามคำพรรณนา ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือเงินอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อผูกพันในกฎหมาย ผู้ซื้อสินค้าได้คืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้า  ตามข้อตกลงทางการค้ากับผู้ขายสินค้าเฉพาะที่มีกำหนดเวลา  (สินค้าห้ามจำหน่าย)   ตัวอย่างการออกใบลดหนี้     ตัวอย่างใบกำกับภาษีที่ออกให้ตอนขายสินค้า (สังเกตรายการที่ 2)   ใบลดหนี้ตามมาตรา 86  และมาตรา 83   แห่งประมวลรัษฎากร  สำหรับผู้ซื้อสินค้าถ้าเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม  มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บมาถือเป็นภาษีของตนเอง 

วงจรบัญชี (Accounting Cycle) : ตอนที่ 6

                วงจรบัญชี  หมายถึง  ลำดับขั้นตอนการจัดทำบัญชี  การบันทึกเอกสารรายการค้าลงในสมุดรายวัน  และการสรุปผลรายงานทางการเงินแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี  วัตถุประสงค์ให้ได้ผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงิน  ทำให้กิจการได้นำมาใช้ในการวิเคราะห์ตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ว่าแต่วงจรบัญชีหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัฏจักรทางการบัญชี  มีวิธีการจัดทำและบันทึกรายการอย่างไร อะไรบ้างไปดูกันค่ะ วงจรซื้อ เมื่อมีการซื้อสินค้า เอกสารที่กิจการจะได้รับใบกำกับภาษีซื้อเป็นชุด (ต้นฉบับ และ สำเนา) 1.ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อที่ได้รับ  มาจัดเรียงตามวันที่และใส่ลำดับเลขที่ใหม่ ดังนี้  เดือน…../ลำดับที่……. 2.ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ มาจัดทำรายงานภาษีซื้อ  (เตรียมยื่นนำส่งภาษี ภ.พ.30) 3.ในกรณีที่เป็นใบกำกับภาษีซื้อต้องห้าม เช่น ใบกำกับภาษีซื้อค่าอาหาร  ซื้อขนม  เป็นต้น  ให้นำมาหักออกจากรายภาษีซื้อ 4.ในกรณีใบกำกับภาษีซื้อล่าช้า  สามารถล่าช้าได้  6