บัญชีก่อสร้าง Archive

Latest Posts

วงจรบัญชีสำหรับกิจการก่อสร้าง ว่าด้วยเรื่องขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเริ่มทำงาน(ตอน4)

วงจรบัญชีสำหรับกิจการก่อสร้าง ว่าด้วยเรื่องขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเริ่มทำงาน(ตอน4) การจะทำว่าด้วยเรื่องเอกสารงานก่อสร้าง เป้าหมายคือต้องทำงานให้ได้ตามแผนงาน ส่งงานได้รวดเร็ว ทันเวลา วางบิลเก็บเงินได้เร็ว  การเงินมีสภาพคล่อง แต่กลับกันถ้าหากว่าก้มหน้าก้มตาทำงานแล้วไม่ได้ใส่ใจเรื่องการจัดเตรียมเอกสารที่ส่งมอบงานก่ออาจก่อให้เกิดปัญหากับการเก็บเงินได้ มาดูกันว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง  กล่าวถึงตอนที่รับงานมาแล้วนะคะ เริ่มด้วยประชุมทีมทำงาน  มอบหมายงานหรือพูดง่ายๆ ก็คือจัดแถวเช็คชื่อว่าแต่ละคนทำหน้าที่อะไรบ้าง เพื่องานจะได้ไม่ซ้ำซ้อน ง่ายต่อการติดตามงาน  ถ้าให้ดีประชุมติดตามงานอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน ฝ่ายธุรการก่อสร้าง งานทำสัญญากับคู่สัญญา งานทำสัญญากับผู้รับเหมาช่วง  งานประกันภัยก่อสร้าง  งานพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับติดต่อประสานงานกับร้านค้าและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  งานจัดซื้อ (รับข้อมูลจากฝ่ายถอดแบบประมาณการก่อสร้าง)  ทำใบขอราคาวัสดุ เพื่อหาราคาต่ำสุดและได้มาตรฐานตรงตามBOQ ฝ่ายก่อสร้าง   งานออกเอกสารกับคู่สัญญา งานติดต่อกับส่วนราชการพื้นที่โครงการที่เราต้องเข้าทำงาน  งานป้าย   งานถอดแบบประมาณการก่อสร้าง  งานจัดหาผู้รับเหมาช่วง  งานกำหนดแผนงานก่อสร้าง  งานเตรียมทำแอสบิ้วท์  งานเตรียมรูปถ่ายระหว่างก่อสร้างจัดรูปให้ตรงตามมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนด  เช่น ช่วงก่อนเข้าทำงาน ช่วงระหว่างก่อสร้าง  ช่วงเก็บงาน 

วงจรบัญชีสำหรับกิจการก่อสร้าง (ตอน3)

วงจรบัญชีสำหรับกิจการก่อสร้าง  (ตอน3) ก่อนเข้าเรื่องการบันทึกบัญชี  เรามาตรวจสอบกันว่าเปิดแฟ้มเก็บเอกสารครบหรือยัง นอกเหนือจากตอน2 ทีนี้มาสำรวจของส่วนบัญชีกัน 1 แฟ้มเก็บข้อมูลงานสนามก่อสร้าง ไว้เก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างทั้งหมด แยกเก็บ 1 สัญญา 1 แฟ้ม 2 แฟ้ม สมุดรายวันซื้อ 3 แฟ้ม สมุดรายวันขาย 4 แฟ้ม สมุดรายวันรับ 5 แฟ้ม สมุดรายวันจ่าย 6 แฟ้ม สมุดรายวันทั่วไป 6 แฟ้ม ใบสั่งซื้อสินค้า 7 แฟ้ม ใบรับสินค้า 8 แฟ้ม ภาษีซื้อ (เอาไว้ทำ ภ.พ.30) 9

วงจรบัญชีสำหรับกิจการก่อสร้าง (ตอน2)

วงจรบัญชีสำหรับกิจการก่อสร้าง ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2552) กำหนดไว้ว่า เมื่อกิจการสามารถประมาณผลของงานก่อสร้างตามสัญญาได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องรับรู้รายได้ก่อสร้างและต้นทุนก่อสร้างเป็นรายได้และค่าใช้จ่าย  โดยอ้างอิงกับขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน  ตามวิธีอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of completion)  ถ้างานก่อสร้างที่มีระยะเวลานานกว่ารอบบัญชี มักจะดูความสำเร็จตามที่ทำจริงของงานก่อสร้าง  ทีนี้มารู้ความหมายส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชีก่อสร้าง ว่ามีรายการอะไรบ้าง การวัดมูลค่าของรายได้งานก่อสร้าง  หมายถึง  การวัดอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ หรือขั้นความสำเร็จของงานตามสัญญา และการวัดมูลค่าของรายได้อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต เช่น ผู้ว่าจ้างตกลงดัดแปลงงาน  แก้ไขแบบแปลนก่อสร้าง หรืออาจมีเหตุการณ์ที่กิจการส่งงานล่าช้าเป็นเหตุให้ต้องจ่ายค่าปรับที่เกิดจากการปฏิบัติงานก่อสร้างล่าช้าไม่เสร็จตามสัญญาทำให้รายได้ลดลง  แต่ถ้าเหตุของความล่าช้าไม่ได้เกิดจากกิจการ เช่น ก่อสร้างไปแล้วไปติดอุปสรรค ก็ทำหนังสือขอสงวนสิทธิ์แจ้งหยุดงานไว้ก่อน แล้วเมื่อหน้างานพร้อม ก็ขอเริ่มงานใหม่ แล้วก็ขอขยายอายุสัญญา อย่างนี้ก็ไม่ส่งผลต่อรายได้ก่อสร้าง  เป็นต้น รายได้ค่าก่อสร้าง (Contract
acc-construction

การบัญชีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (ตอน 1)

โดยส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยกับบัญชีธุรกิจซื้อมาขายไป บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับการบัญชีสำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกัน สำหรับการดำเนินงานตามสัญญาก่อสร้างของกิจการรับเหมาก่อสร้างมักมีวันเริ่มต้นงานก่อสร้าง และวันสิ้นสุดงานก่อสร้างอยู่ต่างงวดบัญชีกัน ดังนั้น การรับรู้รายได้และต้นทุนงานก่อสร้างในแต่ละงวดบัญชีต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การรับรู้รายการของแม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2552) และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2552) โดยพิจารณาจากความน่าเชื่อถือในการประมาณผลของงานก่อสร้าง เมื่อกิจการสามารถประมาณผลของงานก่อสร้างได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องรับรู้รายได้และต้นทุนงานก่อสร้างของสัญญาเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายเข้างบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ โดยอ้างอิงกับขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงงาน แต่ถ้าไม่สามารถประมาณผลของงานก่อสร้างได้อย่างน่าเชื่อถือ ต้องรับรู้รายได้ไม่เกินกว่าต้นทุนค่าก่อสร้างที่เกิดขึ้น และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะได้รับต้นทุนนั้นคืน โดยต้องรับรู้ต้นทุนค่าก่อสร้างที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดเป็นค่าใช้จ่าย และรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายทันที มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2552) เรื่องสัญญางานก่อสร้าง ซึ่งถือปฏิบัติกับงบการเงินในหรือหลัง 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป กำหนดว่า สัญญาก่อสร้าง (Construction Contract) หมายถึง สัญญาที่ทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อก่อสร้างทรัพย์สินรายการเดียว