การตัดค่าใช้จ่ายค่าเสืื่อมราคา Archive

Latest Posts

ค่าเสื่อมราคากับวิธีการบันทึกตัดค่าใช้จ่าย (Depreciation Expenses)

ค่าเสื่อมราคา คือ ค่าสึกหรอของสินทรัพย์ถาวรที่ให้ประโยชน์แก่กิจการมีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี พูดง่ายๆ ก็คือคิดค่าเสื่อมราคาได้เฉพาะที่กิจการมีไว้เพื่อใช้เท่านั้น  เช่น รถยนต์ (หักค่าเสื่อมได้สูงสุด 1 ล้าน), เครื่องใช้สำนักงาน (โต๊ะทำงาน,ตู้เก็บเอกสาร,โทรศัพท์,เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น) ,  เครื่องตกแต่งสำนักงาน (ทีวี+ตู้วางทีวี,ชุดรับแขก เป็นต้น) ,  เครื่องมือเครื่องใช้ (พัดลมอุตสาหกรรม,จริงอยู่ที่เมื่อใช้ไปแล้วยังไม่หมดไปแต่มูลค่าของสินทรัพย์ถาวรนั้นก็จะไม่เหลือเท่าเดิมแต่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ตัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่กิจการใช้ประโยชน์ประจำงวด  โดยค่าใช้จ่ายที่ว่านี้ไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายที่มีการจ่ายเป็นตัวเงินออกไปเหมือนกับ เงินเดือน ค่าเช่า  วัตถุดิบ  วัสดุสิ้นเปลือง  เป็นต้น  แต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการที่ประมาณการขึ้นมาจากสินทรัพย์ถาวรเหล่านี้ และต้องทำการปรับปรุงบันทึกบัญชีทุกวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ และต้องตรงกับความเป็นจริง  โดยที่กิจการไม่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมดในคราวเดียวแต่ต้องมีการเฉลี่ยหักเป็นค่าใช้จ่ายออกไปในแต่ละปี  หลักเกณฑ์การคำนวณเฉลี่ยก็แตกต่างกันตามสินทรัพย์แต่ละประเภท   (ดาวน์โหลดตัวอย่างการจำแนกประเภทที่นี่) หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการหักค่าเสื่อมราคา (จากประมวลรัษฎากร) ทรัพย์สินทุกประเภทของกิจการโดยสภาพของทรัพย์สินนั้นมีการสึกหรอเสื่อมราคาได้  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลย่อมนำมาหักค่าสึกหรอค่าเสื่อมราคาเพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีได้ นอกจากที่ดินและสินค้ากฎหมายห้ามมิให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาโดยใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปและอัตราที่จะหัก  อัตราการหัก